ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้

 4.4.1 ขั้นอ่านเรื่องให้นักเรียนฟัง
     ครูนำหนังสือหรือโคลงกลอนมาอ่านให้นักเรียนฟังโดยเล่าไปตามลำดับเหตุการณ์ หนังสือนี้อาจจะเป็นส่วนเกี่ยวข้องกับบทเรียนหรือไม่ก็ได้
4.4.2 ขั้นนำเสนอบทเรียน
    ครูนำเสนอบทเรียนในขั้นนำเสนอ โดยนำเสนอเป็นรูป
4.4.3 ขั้นฝึก จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ใช้ภาษาที่ครูนำเสนอ
  4.4.4 ขั้นแสดงภาษาที่ฝึกเป็นผลงาน

4.5        การจัดกิจกรรมการอ่านตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
การจัดกิจกรรมการอ่านตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ตามหลักการของ Holdaway
สามารถประมวลได้เป็น 5 กิจกรรมดังนี้ (สุภัทรา   คงเรือง, 2539 : 19)
1.                 กิจกรรมการอ่านร่วมกัน เป็นกิจกรรมที่สะท้อนหลักการว่า การสอนอ่านต้องเป็น
แบบอย่างการอ่านที่ผู้ใหญ่อ่าน และเด็กได้มีประสบการณ์การอ่านจากสื่อหลาย ๆ ประเภท เช่น นิทาน เพลง คำคล้องจอง เป็นกิจกรรมการอ่านร่วมกันระหว่างครุและเด็กในกลุ่มใหญ่
2.                 กิจกรรมการสื่อภาษา เป็นกิจกรรมที่สะท้อนหลักการว่าการรับภาษาจะต้องคู่กับการ
ถ่ายทอดทางภาษาเป็นกิจกรรมที่เด็กได้สื่อความหมายของสิ่งที่เด็กอ่านโดยลำพัง หรือเป็นกลุ่มย่อย เช่น การวาดภาพ การทำภาพนิ่ง การแสดงละคร
3.                 กิจกรรมการอ่านอิสระ เป็นกิจกรรมที่สะท้อนหลักการว่า เด็กแต่ละคนจะเรียนสิ่งที่
เกี่ยวข้องกับการอ่าน แตกต่างกันในเวลาที่แตกต่างกัน และในขณะที่มีความพร้อมในการอ่านที่แตกต่างกัน กิจกรรมที่เด็กได้มีโอกาสเลือกอ่านเองหนังสือตามความสนใจ เด็กอ่านเงียบ ๆ คนเดียวหรือเป็นกลุ่มย่อย ครูช่วยบันทึกสิ่งที่อ่าน และให้เด็กเล่าเรื่องหรือพูดคุยเรื่องที่อ่านให้เพื่อนฟัง
                4. กิจกรรมการเล่นเกมภาษา เป็นกิจกรรมที่สะท้อนหลักการว่า เด็กควรมีโอกาสได้อ่านในช่วงเวลาต่าง ๆ ตลอดทั้งวัน ซึ่งการอ่านนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นกิจกรรมการอ่านอย่างเป็นทางการ จากสื่อที่เป็นตัวหนังสือ หรือ ข้อความในสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่อาจจะเป็นการเล่นเกมที่เกี่ยวข้องกับภาษาในลักษณะต่าง ๆ ด้วย เด็กทำโดยลำพังหรือเป็นกลุ่มย่อย
                5. กิจกรรมการอ่านข้อความในสิ่งแวดล้อมตามโอกาส เป็นกิจกรรมที่สะท้อนหลักการว่าการสอนอ่านควรใช้ข้อความที่ใช้จริงในชีวิตประจำวัน และมีคุณค่าแก่การอ่านเป็นการนำเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันมาเขียนพร้อม ๆ กับเด็กเพื่อๆไว้ใช้อ่านในห้องเรียน
                การประเมินผล ประเมินได้จากการสังเกต การบันทึก  การเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็กขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ และการสะสมชิ้นงานซึ่งถือว่าสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการประเมินการเรียนรู้ภาษาจากสภาพจริง ( Authentic Forms of Assessment ) และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กมากกว่าการใช้แบบทดสอบทางภาษา